วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

สอนใช้ Dreamweaver ติดต่อและแสดงฐานข้อมูล


ท่านกำลังประสบปัญหาเรื่องการพิมพ์ชื่อ database , table ใช่หรือไม่?


ถ้าใช่!! ท่านจะได้พบกับนวัตกรรมอันยอดเยี่ยมของ Dreamweaver!! เครื่องมือสำหรับนักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ถ้าไม่ใ้ช่!! ออกไปซะ!!


บทเรียนนี้เอาใจคนใช้ dreamweaver โดยเฉพาะครับ จะสอนการใช้ application ที่มากับเจ้า dream นี่เอง เป็นตัวที่เอาไว้สำหรับติดต่อกับฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่านที่ต้องการเปิดดู field เวลาที่ท่านต้องพิมพ์ภาษา SQL ว่าจะ select อะไร update อะไร ได้ง่ายขึ้นมากๆ ไม่ต้องเปิดหน้า browser ทีนึง copy ทีนึง paste ทีนึง เสียเวลาสุดๆ

เอาล่ะ ไม่พูดพร่ำทำเพลง มาต่อกันเลย ให้ท่านเปิด dream ขึ้นมาก่อนครับ.....เปิดยัง ผมรออยู่  OK เปิดแล้วนะ 


1. ทีนี้ให้ท่านเปิดไปที่แถบ Application เลือกไปที่ Databases (หรือจะกดCtrl+Shift+F10 ก็ได้ครับ)



2. เมื่อเจอแล้ว อย่ารอช้า กดเครื่องหมาย + เลยครับพี่น้อง เลือกไปที่ MySQL Connection (มันมีอันเดียวแหละ)



3. จะมีหน้าต่างแบบนี้ขึ้นมา 



4. จากนั่นให้กรอกรายละเอียดของ MySQL database ของท่านครับ ดังนี้
  • Connection Name : ใส่ชื่ออะไรก็ได้ครับ ชื่อเดียวกับฐานข้อมูลก็ได้จะได้ไม่สับสน
  • MySQL Server : โดยปกติแล้วจะใ้ช้ localhost
  • Username : username ในการ connect DB ของท่าน ถ้าไม่มี เว้นวางไว้ ถ้ามี ส่วนใหญ่จะเป็นroot
  • Password : password ในการ connect DB ของท่าน ถ้าไม่มี เว้นวางไว้ ถ้ามี ส่วนใหญ่จะเป็น1234 (พาสสิ้นคิด)
  • Database : ชื่อ database ที่ท่านจะทำการติดต่อ ถ้าสามารถพิมพ์ได้ก็พิมพ์ครับ ถ้าจำไม่ได้ กด Select...[/size]



    เมื่อกด Select.. ระบบจะทำการเรียกดูชื่อ database ทั้งหมดมาให้ท่านดู ท่านก็เลือกที่ท่านต้องการซักอันแล้วกด Ok



    5. เมื่อทุกอย่างครบถ้วนแล้ว กด OK ได้เลยครับ และท่านก็จะเห็น ก้อน database ของท่านแสดงขึ้นมาดังภาพด้านขวามือ


    แต่ถ้า ท่านกรอกข้อมูลผิดพลาด หรือไม่ครบถ้วน มันจะ ฟ้องออกมาแบบนี้ ในตัวอย่าง ผมไม่ได้ใส่ password ครับ ซึ่งระบบมันต้องการ pass 



    6. เอาล่ะ มาดูกันว่ามันทำไรได้มั่ง โอ้ววว นี่ไง Table ใน database ของโผมมมม 



    7. โอ้ววววว นี่มัน field ที่อยู่ใน table นี่นา 



    8. ข้อดีมันอยู่ตรงนี้ครับ เมื่อเราเห็น field แล้ว ทีนี้เวลาเราจะใช้คำสั่ง SQL เราก็แค่เปิดตรงนี้ขึ้นมา เราก็สามารถมองเห็น field ได้ชัดเจน ว่าต้อง select อะไร ใช้ $row[..] ว่าอะไร ($row หมายถึง ตัวแปรสิ้นคิด ที่เอาไว้ fetch_array)
    ที่นี้เมื่อมองเห็นอย่างเดียวไม่พอครับ มันต้องสัมผัสได้ด้วย aiwebs_027 (เหอๆๆ) ท่านอยากได้ชื่อของ field ใด ท่านก็ จับมันโยนใส่ในหน้า code เลยครับ (Drag&drop) ดังในภาพ ผมขี้เกียจพิมพ์ ชื่อ field:mStatusVIP ผมก็กดที่ชื่อมันแล้วลากเมาส์ ไปใส่ในส่วนที่ผมต้องพิมพ์ 



    บ๊ะ ไม่น่าเชื่อ ไวจริงๆ ไปท้าคนพิมพ์สัมผัส แข่งเขียน SQL กันมั้ยครับพี่น้อง เหอๆๆ